วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ถ้ำดินเกร็ดเพชร สุโขทัย









เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

        พบ ถ้ำดินเกร็ดเพชร แหล่งท่องเที่ยวใหม่ จ.สุโขทัย มีหินงอกหินย้อยสวยงาม เล็งพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

       ชาวบ้าน ต.กลางดง อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย พบถ้ำดินแห่งหนึ่งอยู่กลางหุบเขาโด่แม่ถัน หลังโรงเรียนบ้านเชิงผา โดยถ้ำแห่งนี้มีลักษณะเป็นโขดหินแหลม และมีหินงอกหินย้อยประกายมุก กระทบแสงระยิบระยับ จึงได้ให้ชื่อถ้ำดินแห่งนี้ว่า "ถ้ำดินเกร็ดเพชร"


       ล่าสุด วันที่ 14 มกราคม ที่ผ่านมา นางสุมิตรา ศรีสมบัติ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยนายโกศล วิทยาสุวรรณพร นายอำเภอทุ่งเสลี่ยม ได้เข้าไปตรวจสอบถ้ำดินดังกล่าว พบว่า ลักษณะของถ้ำเป็นห้องสี่เหลี่ยมที่จุคนได้มาก มีอากาศถ่ายเทสะดวก มีช่องลมให้ระบายอากาศ และมีหินงอกหินย้อยสวยงาม สีขาวมุกอมทอง เมื่อกระทบกับแสงจะส่องประกายระยิบระยับ นอกจากนี้บางจุดยังมีลักษณะเป็นม่านย้อย ดูงดงามตระการตา

       จึงเตรียมเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวสุโขทัย อีกทั้งการเดินทางมายังถ้ำดินเกร็ดเพชรก็ไม่ลำบาก สามารถเป็นเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความเป็นอยู่แบบพื้นบ้าน ได้ลองเก็บของป่า พร้อมกันนี้จะมีการพัฒนาทางเข้าให้สะดวกมากขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวด้วย


พระธาตุเรณู นครพนม


พระธาตุเรณู

          นอกจาก "พระธาตุพนม" อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครพนมมาช้านาน ยังมีพระธาตุอื่น ๆ อีกหลายแห่ง แต่วันนี้กระปุกท่องเที่ยวจะพาเพื่อน ๆ ไปนมัสการ "พระธาตุเรณู" อีกหนึ่งปูชนียสถานที่สำคัญ โดยตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระธาตุพนมมากนัก และนับว่าเป็นพระธาตุคู่เมืองชาวเรณูนคร ที่จำลองมาจากพระธาตุพนม 

          สำหรับ พระธาตุเรณูนคร ประดิษฐานอยู่ที่ วัดธาตุเรณู ณ บ้านเรณูนคร ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม องค์พระธาตุจำลองมาจากองค์พระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 โดย พระอุปัชฌาย์อินภูมิโย สูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง 

พระธาตุเรณู


ประวัติ

          พระธาตุเรณู ตั้งอยู่ที่ วัดธาตุเรณู แต่เดิมชื่อ วัดกลาง เพราะสร้างขึ้นตรงกลางเมือง มีพื้นที่ประมาณ 16 ไร่เศษ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน เล่ากันมาว่าเจ้าผู้ปกครองเมืองคนแรกพร้อมด้วยอุปฮาดกรมการเมืองและราษฎรร่วมกันสร้างขึ้น แต่โบราณกาลมาถือว่าวัดกลางเป็นวัดสำคัญของเมือง เป็นวัดสำหรับกระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามประเพณีด้วย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดกลางมาเป็น วัดธาตุเรณู ตาม พระธาตุเรณู ดังที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบันนี้

          พระธาตุเรณู สร้างด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดในปัจจุบัน มีการก่อสร้างถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 แต่ยังไม่ทันจะทำการฉลองสมโภชก็ถูกฟ้าผ่าพังทลายจนหมดสิ้น เป็นที่เศร้าเสียใจกันทั่ว ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสจึงประชุมเห็นพร้อมกันว่าต้องทำการก่อสร้างพระธาตุนี้ขึ้นอีกให้ได้ โดยก่ออิฐให้หนาขึ้น ทำการก่อสร้างอยู่ราวปีกว่าก็สำเร็จเรียบร้อย จึงได้จัดงานฉลองสมโภชในปี พ.ศ. 2463 

พระธาตุเรณู

          รูปแบบของพระธาตุเรณูได้จำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม (องค์ก่อนกรมศิลปากรบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2483) แต่มีขนาดเล็กกว่า สูงประมาณ 35 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 8.37 เมตร เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ 2 ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลวดลายปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยลายดอกจอกปูนปั้น ถัดขึ้นไปจึงเป็นส่วนของยอดซึ่งประดับด้วยฉัตรอยู่ด้านบนสุด ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน รวมทั้งของมีค่าที่เจ้าเมืองและประชาชนมีศรัทธาบริจาค

          นอกจากนั้น ภายในวัดธาตุเรณูยังเป็นที่ประดิษฐานของ "พระองค์แสน" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนเคารพนับถือมาก พระองค์แสนมีน้ำหนักถึง 10 หมื่น  ตามมาตราชั่งที่นิยมใช้กันในท้องถิ่น คือ 1 หมื่น เท่ากับ 12 กิโลกรัม 10 หมื่น จึงเท่ากับ 120 กิโลกรัม แต่การนับในปัจจุบัน 10 หมื่นเป็น 1 แสน เพราะเหตุนี้จึงเรียกชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระองค์แสน" หรือ "หลวงพ่อองค์แสน" 

          ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร  ปางสมาธิ พระพักตร์เป็นแบบลาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว อายุประมาณ 100 ปีขึ้นไป พระสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันหล่อพระองค์แสนขึ้นเพื่อจะให้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ขจัดภัยพิบัติข้าศึกศัตรูหมู่อมิตร เป็นนิมิตรหมายถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนที่เคารพนับถือ ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ให้ได้ทำไร่ทำนากันทั่วไป และเมื่อถึงวันสงกรานต์ของทุก ๆ ปี จะมีพิธีอัญเชิญพระองค์แสนแห่ไปรอบเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำด้วย

          อย่างไรก็ตาม ในทุกปีช่วงวันขึ้น 11 - 15 ค่ำ เดือน 4 จะมีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุเรณูนครขึ้นเป็นประจำ ทั้งนี้ พระธาตุเรณูนคร ยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์ เชื่อกันว่าผู้ที่ได้นมัสการจะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้มีวรรณะงดงามผุดผ่องดังแสงจันทร์ สำหรับเครื่องสักการะ : ธูป 15 ดอก, เทียนขาว 2 เล่ม, พวงมาลัย, ดอกไม้, ผ้าสีเหลือง, น้ำอบไทย, ข้าวเหนียวปิ้ง และข้าวพอง 

พระธาตุเรณู

คาถาบูชาพระธาตุเรณู

          (ท่องนะโม 3 จบ) ปุริมายะ ทิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเถเรนะ จะสังฆะเถเรนะ จะฐาปิตัง เจติยัง สิระสา นะมามิ อิมินะ ปัญญกัมเมนะ สะทา โสตถิ ภะวัน ตุเม ทักขิณายะ ทิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเถเรนะ จะสังฆะเถเรนะ จะฐาปิตัง เจติยัง สิระสา นะมามิ อิมินะ ปัญญะกัมเมนะ สะทา โสตถิ ภะวัน ตุเม ปัจฉิมายะ ทิสายะ เรณูนะคะรัสมิง สะปะริสายะ อินทะเถเรนะ จะสังฆะเถเรนะ จะฐาปิตัง เจติยัง สิระสา นะมามิ อิมินะ ปัญญะกัมเมนะ สะทา โสตถิ ภะวัน ตุเม

          สำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์ ท่องคาถาบูชาดวงวันเกิดว่า อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา (15 จบ)

          และนี่คือ พระธาตุเรณู แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรมที่สำคัญของไทย หากใครมีโอกาสผ่านไปแถว ๆ นั้น ก็อย่าลืมแวะไปกราบไหว้กันนะจ๊ะ  

การเดินทาง 

          อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ 51 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 212 ถึงประมาณกิโลเมตรที่ 44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7 กิโลเมตร และจากสถานีขนส่งมีรถสองแถวประจำทางไปพระธาตุเรณูนคร อัตราค่าโดยสารคนละประมาณ 40 บาท

สระมรกต กระบี่


สระมรกต
          หลายคนคงได้อ่านปฏิทินวันหยุดในปี 2013 ไปแล้วว่าปีนี้มีวันหยุดยาววันไหนบ้าง และก็คงวางแพลนกันไว้บ้างแล้วจะไปเที่ยวพักผ่อนที่ไหนกันดี แต่สำหรับคนที่ยังไม่รู้จะออกไปโลดแล่นหาชาร์จแบตฯ ที่ไหนดี วันนี้กระปุกท่องเที่ยวขอนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวสุดพิเศษอย่าง "สระมรกต" จังหวัดกระบี่ ไว้เป็นตัวเลือกในการวางแผนเที่ยวในปีนี้กันจ้า ก็แหม...สระมรกต เรียกว่าเป็นสุดยอดอันซีนในประเทศไทยก็ได้ เพราะมีแหล่งน้ำพุร้อนที่มีลักษณะเป็นสระน้ำร้อน น้ำใสเป็นสีเขียวมรกต แถมเดินทางยังสะดวกและไม่ไกลจากตัวเมืองกระบี่ ใช้เวลาท่องเที่ยวไม่นานก็เต็มอิ่ม 

สระมรกต

          โดย สระมรกต ตั้งอยู่บริเวณป่าทุ่งเตียว ซึ่งจัดเป็นป่าที่ราบต่ำผืนสุดท้ายของประเทศไทย ที่มีพืชพรรณและสัตว์ป่าบางชนิดอาศัยอยู่ในป่านี้เท่านั้น เช่น นกแต้วแล้วท้องดำ นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายในลักษณะของป่าดงดิบชื้น โดยภายในป่าทุ่งเตียวมีการจัดทำเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เน้นการท่องเที่ยวแบบชมนกชมไม้สบาย ๆ ใช้เวลาท่องเที่ยวได้ตามใจชอบ จะครึ่งวันหรือหนึ่งเต็มวัน ซึ่งจุดเดินป่าที่น่าสนใจ คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ทีนา โจลีฟฟ์ ที่ตั้งชื่อตาม คุณ ทีนา โจลีฟฟ์ ชาวอังกฤษ ผู้ริเริ่มในการอนุรักษ์ป่าดิบชื้น แถมยังเหมาะสำหรับคนรักการดูนกมากเลยค่ะ

สระมรกต

สระมรกต

          ส่วนไฮไลท์ความมหัศจรรย์ของป่าทุ่งเตียว คือ สระมรกต สระน้ำธรรมชาติที่มีสีเขียวเหมือนมรกตขนาดใหญ่ รูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีคล้ายน้ำทะเลฝั่งอันดามันเลยก็ว่าได้ กว้างประมาณ 25 เมตร ยาว 20 เมตร ระดับความลึก 1.5-2 เมตร ความใสทำให้มองเห็นพื้นหินข้างล่างได้ชัดเจน ซึ่งสระน้ำสีเขียวมรกตเป็นน้ำกระด้าง ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชและปลา จึงไม่มีสัตว์น้ำและพืชน้ำในสระนี้เลย 

สระมรกต

          บริเวณรอบ ๆ สระมรกตยังก็มีศาลาให้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ ชมทิวทัศน์รวมถึงสะพานไม้ที่เชื่อมออกจากป่าสู่ศาลาริมน้ำ ซึ่งเราสามารถเพลิดเพลินกับการว่ายน้ำเล่น ในบรรยากาศแสนร่มรื่น พักผ่อนหย่อนใจริมสระ หรือจะไปเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ชมนกชมไม้ก็เพลิดเพลินเช่นกันค่ะ และสำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติใกล้ชิด ทางเจ้าหน้าที่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ก็อนุญาตให้นักท่องเที่ยวกางเต็นท์พักแรมเพื่อได้ใกล้ชิดธรรมชาติ

สระมรกต

          ทั้งนี้ สระมรกต เปิดให้ท่องเที่ยวได้เข้าไปเที่ยวชมความงามของธรรมชาติได้ทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 - 17.00 น. โดยอัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ชาวไทย 20 บาท ต่างชาติ 90 บาท เด็กชาวไทย 10 บาท ต่างชาติ 50 บาท เองค่ะ ไม่แพง...กระเป๋าไม่ฉีกแน่นอนค่ะ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ ททท. สำนักงานจังหวัดกระบี่ โทรศัพท์ 0 7562 2163 

สระมรกต

การเดินทาง 

          สระมรกต เป็นส่วนหนึ่งของป่านอจู้จี้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านบางเตียว ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม ผืนป่าแห่งนี้อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม สามารถเดินทางได้จากตัวเมืองกระบี่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 28 กิโลเมตร ตามเส้นทางกระบี่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ไปทางอำเภอเหนือคลอง จนถึงอำเภอคลองท่อม ถึงแยกไฟแดงให้เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอลำทับ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4038 ประมาณ 100 เมตร แล้วเลี้ยวขวาไปทางคลองท่อมใต้-ทับไทร อีกประมาณ 17 กิโลเมตร เดินเท้าอีกประมาณ 800 เมตร ก็ถึงสระมรกตแล้ว

สระมรกต แผนที่

ปราสาทหินพนมรุ้ง บุรีรัมย์


ปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง (ไทยโพสต์)

สรณะ : รายงาน


          อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยโบราณสถานสำคัญซึ่งตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่


ปราสาทหินพนมรุ้ง


          ประวัติตัวปราสาทหินพนมรุ้ง
          ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา ในช่วงแรกปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นจากหินทรายสีชมพู ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งสูง 1,320 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ชื่อพนมรุ้งแปลว่า ภูเขาใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 15-18

          จารึกต่าง ๆ ที่นักวิชาการได้อ่านและแปลพอจะสรุปได้ว่า พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งเมืองพระนคร (พ.ศ.1487-1511) ได้สถาปนาเทวาลัยถวายพระอิศวรที่เขาพนมรุ้ง ซึ่งในสมัยแรก ๆ คงยังไม่ใหญ่โตนัก ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ.1511-1544) ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 นเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิทรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (ซึ่งเป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทแห่งนี้ขึ้น และได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี ณ ปราสาทพนมรุ้ง

          ปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ


ปราสาทหินพนมรุ้ง

          องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้ง ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือ ปราสาทประธานซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่า พลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกันในปัจจุบันว่า พลับพลาเปลื้องเครื่อง ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน
          ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอคล้ายดอกบัวตูมเรียกว่า เสานางเรียง จำนวนข้างละ 35 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจ คือ จุดกึ่งกลางสะพาน มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปดในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา

ปราสาทหินพนมรุ้ง

          ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึ่งหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึงนเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย

          ปราสาทประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุน ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมกว้าง 8.20 เมตร สูง 27 เมตร ด้านหน้าทำเป็นมณฑป โดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่า สร้างโดยนเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้นำปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ราวพุทธศตวรรษที่ 17

ปราสาทหินพนมรุ้ง

          ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่าประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์เท่านั้น

          ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตามลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารสองหลังก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่า บรรณาลัย ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา ก่อสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18

ปราสาทหินพนมรุ้ง

          ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานมีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น พระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระราม (ในเรื่องรามเกียรติ์) หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤๅษี เป็นต้น

          ปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤๅษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราช สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16

ปราสาทหินพนมรุ้ง

          นอกจากนี้ ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า โรงช้างเผือก

          ชุมชนที่เคยตั้งอยู่บริเวณเขาพนมรุ้งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เพราะนอกจากมีบารายหรืออ่างเก็บน้ำ ซึ่งใช้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของปากปล่องภูเขาไฟเดิมเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่บนเขาอยู่แล้ว ที่เชิงเขามีบารายอีก 2 สระ คือ สระน้ำหนองบัวบารายที่เชิงเขาพนมรุ้ง และสระน้ำโคกเมืองใกล้ปราสาทหินเมืองต่ำ สระน้ำบนพื้นราบเบื้องล่างภูพนมรุ้งนี้รับน้ำมาจากธารน้ำที่ไหลมาจากบนเขา นอกจากนี้ยังมีกุฏิฤๅษีอยู่ 2 หลัง เป็นอโรคยาศาลที่รักษาพยาบาลของชุมชนอยู่เชิงเขาด้วย
          บริเวณที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้งอาจเคยเป็นที่ตั้งของศาสนพื้นถิ่นมาก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นเป็นปราสาท ที่มีความใหญ่โตงดงาม สมกับเป็น กมรเตงชคตวฺนํรุง ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปราสาทพนมรุ้ง อันหมายถึงองค์พระศิวะในศาสนาฮินดูที่กษัตริย์ขอมทรงนับถือ การเปลี่ยนสถานที่เคารพพื้นถิ่นให้เป็นปราสาทกินตามแบบคติขอม น่าจะเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนลักษณะการเมืองการปกครอง ที่ผู้นำท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์ขอมโดยใช้ระบบความเชื่อมทางศาสนา วัฒนธรรม และวัฒนธรรมท้องถิ่น

ปราสาทหินพนมรุ้ง

          ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชาลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน

          กรมศิลปากรได้ทำการซ่อมแซมและบูรณะปราสาทหินพนมรุ้ง โดยวิธีอนัสติโลซิส (ANASTYLOSIS) คือรื้อของเดิมลงมาโดยทำรหัสไว้ จากนั้นทำฐานใหม่ให้แข็งแรง แล้วนำชิ้นส่วนที่รื้อรวมทั้งที่พังลงมากลับไปก่อใหม่ที่เดิม โดยใช้วิธีการสมัยใหม่ช่วย ซึ่งปราสาทหินพนมรุ้งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ต่อมาได้ดำเนินการบูรณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 จนเสร็จสมบูรณ์ และเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ปี พ.ศ. 2531 ได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นองค์ประธาน มีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี ในวันที่ 2-4 เมษายน

ปราสาทหินพนมรุ้ง

          โดยในวันที่ 3-5 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน นอกจากนี้ ในวันที่ 6-8 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์ก็ตก ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน

          ในการเดินทางไปที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถเลือกเดินทางได้ 2 เส้นทางออกจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้...
          เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) เป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึงหมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
          เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) เป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

          ถ้าเดินทางโดยใช้บริการรถโดยสารจากขนส่งบุรีรัมย์ ก็ให้ขึ้นรถโดยสารสายบุรีรัมย์-จันทบุรี พอถึงที่หมู่บ้านตะโกแล้วจึงลงจากรถ จากนั้นจะมีรถสองแถววิ่งไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือไม่ก็นั่งวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็ได้

ดอยอ่างขาง เชียงใหม่



ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ มาเรีย ณ ไกลบ้าน สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม และเฟซบุ๊ก MariaNaKlaibaanTrip 


          เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตฮิตจริง ๆ สำหรับ "ดอยอ่างขาง" จังหวัดเชียงใหม่ อาจเพราะสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แถมบรรยากาศก็แปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกหลากหลาย รวมถึงมีแหล่งท่องเที่ยวให้ออกไปสัมผัสกับความงดงามมากมาย ทั้งทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และประเพณี เช่น สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ, จุดชมวิวกิ่วลม, หมู่บ้านขอบดัง และหมู่บ้านนอแล

          ดังนั้น วันนี้กระปุกท่องเที่ยวเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวดอยอ่างขางกันให้จุใจ ด้วยการตามบันทึกการเดินทางของ คุณ มาเรีย ณ ไกลบ้าน สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม พร้อมกับมีภาพถ่ายสวย ๆ แจ่ม ๆ มาให้ชมกันด้วย เอ้า! ถ้าเตรียมตัวพร้อมแล้วก็ตามเราไปเที่ยวดอยอ่างขางกันเลยค่ะ ^^




          สวัสดีค่ะ วันนี้อยู่บ้านครึ่งวัน ว่าจะพักร่างก่อนเพราะเมื่อวานจัดเต็มไปทั้งวัน แต่คิดไปคิดมามีรูปอ่างขางอยู่บ้างแล้ว เลยจะขอรีวิวสั้น ๆ เบา ๆ พอให้เห็นบรรยากาศอ่างขางและอารมณ์ของเสือบานเมื่ออาทิตย์ที่แล้วกันดีกว่า ก่อนตลาดจะวาย อิอิ รูปอื่น ๆ ที่เหลือทั้งบ้านนอแล ไร่สตรอว์เบอร์รี ไร่ชา นางพญาเสือโคร่ง ดอกไม้สวย ๆ ที่สถานีเกษตรหลวง หรืออาหารจานอร่อยจะไปอัพต่อที่เพจนะคะ ตามไปชมกันต่อที่เพจได้เลยค่ะ เฟซบุ๊ก MariaNaKlaibaanTrip

          รูปทั้งหมดในชุดนี้ถ่ายด้วย Nikon D90 รุ่นคุณป้า + 70-200 2.8 + 10-20 3.5 และ 16-85 ค่ะ รีวิวนี้เน้นภาพถ่าย จะขอแท็ค (Tag) ห้องแกลเลอรี่นะคะ คิดว่าไม่น่าจะเป็นอะไร ขอบคุณค่ะ

ดอยอ่างขาง

          ทริปนี้ไปนอนข้างบน 2 คืน กดชัตเตอร์ไปเป็นพันรูป มากมายมหาศาล เลือกรูปยากมาก เพราะมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้ทำ วันนี้รีวิวเท่านี้ทำรูปลงเพจก่อนแล้วกันนะคะ 

          ♥ การเดินทางไปง่ายกว่าคราวก่อนที่ขึ้นยากทางฝาง ครั้งนี้ใช้ 107 แม่ริม แม่แตง เชียงดาว แล้วขับตามป้ายอ่างขางไปทางบ้านอรุโณทัย ขึ้นทางนี้ขับสบายมาก ไม่โหด ไม่ชัน ไม่หักศอก ขับง่าย ๆ ชิลมากค่ะ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

มีป้ายบอกทางตลอดค่ะ

ดอยอ่างขาง

เส้นนี้จะอ้อมนิด ๆ และไม่มีที่แวะเที่ยวสักเท่าไหร่ แต่ขับง่าย รถเล็กขับสบายค่ะ

ดอยอ่างขาง

แวะถ่ายภาพที่จุดชมวิวแรกกันก่อนเลยค่ะ โชคดีจังได้ผีเสื้อมาด้วย

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          ไปเที่ยวช่วง 22 - 24 มกราคม เสือ (นางพญาเสือโคร่ง) บานไม่มาก เห็นว่าปีนี้ทยอยกันบานเลยไม่เห็นดอยสีชมพูเหมือนที่เราคุ้นตากัน แต่ถึงกระนั้นได้แค่นี้ก็ดีใจคุ้มหลายแล้วค่ะ

ดอยอ่างขาง

รูปถ่ายที่สถานีเกษตรนะคะ

ดอยอ่างขาง

บางต้นบานก่อนก็จะโรย บางต้นก็มีใบแทงออกมาแล้ว จะเหลือไม่กี่ต้นที่ชมพูทั้งต้น

ดอยอ่างขาง

ดอกไม้ที่สถานีเกษตรอ่างขางสวยงามเหมือนเดิมค่ะ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง
ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

กระทู้แบบนี้จะแท็คห้องกล้องได้ไหม เค้าใช้ D90 บ้าน ๆ ถ่ายแต่กลัวดราม่าอ่ะ อิอิ

ดอยอ่างขาง

ดอกป๊อปปี้บานสะพรั่งสวยมาก ๆ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ตรงนี้เป็นสวนใหญ่ อยู่ใกล้ประตูทางเข้าสถานีเกษตรเลยค่ะ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

โค้งฮิต...มีแค่นี้ค่ะ

ดอยอ่างขาง

ปรับ WB เป็น Shade จะได้ภาพโทนเหลืองส้ม ได้ไปอีกบรรยากาศ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          นอนเต็นท์ที่ฐานทหารที่จุดชมวิวค่ะ กางฟรี นอนฟรี มีเต็นท์เล็ก ๆ ที่นอนได้คนเดียวไว้บริการ แต่ต้องเตรียมเครื่องนอนมากันเองนะคะ ถ้าไม่มีก็เช่าจากร้านกาแฟใกล้ ๆ กันได้ค่ะ ทางพี่ ๆ ทหารมีเครื่องดื่มกาแฟ ไมโล มาม่าคัพ กาต้มน้ำร้อนไว้บริการฟรีด้วยนะคะ แถมให้ชาร์จมือถือ แบตฯ กล้องกันเต็มที่อีกด้วย ก่อนกลับก็อย่าลืมช่วยกันบริจาคบำรุงฐานกันสักนิด เป็นกำลังใจและตอบแทนน้ำใจให้พี่ ๆ ทหารกันค่ะ

ดอยอ่างขาง

นอนที่มุมนี้ โชคดีจะเห็นดอยหลวงเชียงดาวด้วยค่ะ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ตื่นเช้าหน่อยก็ขับรถไปเที่ยวไร่สตรอว์เบอร์รี นอนสองคืน ไปสองวันเลยค่ะ

ดอยอ่างขาง

ไร่สตรอว์เบอร์รีสุดฮิต ตอนไปวันธรรมดาคนน้อยค่ะ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

แต่หมอกน้อย

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

เคยเห็นตอนหมอกหนากว่านี้ จะสวยเหมือนเมืองในฝันเลยค่ะ

ดอยอ่างขาง



ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

(คนอื่น) เก็บสตรอว์เบอร์รีกันสนุกเลยค่ะ ส่วนเรารอช้อนอย่างเดียว อิอิ

ดอยอ่างขาง

ตามกันไปถึงที่ไร่ ไม่ใช่ถูก ๆ นะคะ กล่องนึงสองสามร้อยเชียว

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

แต่ถึงอย่างนั้นก็รักอ่างขางจัง

ดอยอ่างขาง

ขึ้นไปล่าก็ต้องจัดเสือเต็ม ๆ กันไป ชุดนี้ใช้ D90 + 70-200 2.8 นะคะ บ้าน ๆ เบา ๆ หวาน ๆ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ที่เค้าว่าแทงใบ มันเป็นเช่นนี้ค่ะ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ได้นกมาหลายตัวเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยชัดนัก เสียดายที่นกสีไม่สดเท่าไหร่

ดอยอ่างขาง

แน้...มองกล้องซะด้วย
ดอยอ่างขาง

รูปเดียวที่ได้ฉากเขียว

ดอยอ่างขาง

          นอนกางเต็นท์กันที่นี่ค่ะ กลางวันแดดร้อนเพราะไม่มีร่มไม้เลย แต่กลางคืนหนาวมาก ๆๆ ตอนที่นอนอุณหภูมิ 3-4 องศาค่ะ
ดอยอ่างขาง

ถ่ายตอนค่ำ

เช้ามืดก่อนออกไปเที่ยวไร่สตรอว์เบอร์รีค่ะ


วิวสวยจริง ๆ

ดอยอ่างขาง
ทะเลภูเขา

ดอยอ่างขาง

มาเที่ยวไร่ชากันต่อค่ะ เสียดายตอนไปถึงสายมากแล้ว หมอกน้อยเชียวแต่ก็ยังสวยอยู่นะคะ

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง

          เบา ๆ กันไปกับรีวิวสั้น ๆ ในวันนี้ รูปสวย ๆ ของอ่างขางยังมีอีกมากมายค่ะ ทั้งบ้านนอแล บรรยากาศริมทาง ทะเลภูเขา อาหารอร่อย และดอกไม้สวย ๆ เอาไว้จะไปลงเพิ่มที่เพจนะคะ ยังไงไปติดตามกันได้จ้า

          ขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกคนที่แวะมาชมและมาทักทายกันค่ะ แล้วเจอกันกับรีวิวฮอกไกโดเร็ว ๆ นี้นะคะ จุ๊บ ๆ

ดอยอ่างขาง